ทฤษฏีการจัดการความรู้

ความหมายของการจัดการความรู้ 
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจ าเป็นต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร จุดมุงหมำยของกำรจัดกำรควำมรู้ เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้คือ การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และก าหนดประเด็น รวมไปถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อ ประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร โดยผ่านการสนับสนุนจากเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศ เพื่อใช้เก็บรวบรวมและเผยแพร่ วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้ 
 1. เพื่อให้องค์กรตระหนักและเห็นความส าคัญของความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล และในองค์กร โดยน าความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพ สูงสุด ทั้งในแง่ของการท างานและวิถีการด าเนินชีวิต 
2. มีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ อย่างเป็นระบบ เช่น การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของ หน่วยงาน การน าระบบอินทราเน็ตมาใช้ในการติดต่อ และเปลี่ยนองค์ความรู้ภายในและระหว่างหน่วยงาน 
3. เพื่อสร้างและพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร โดยการน าองค์ความรู้ที่ได้จากการ จัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในสถานศึกษา ระบบการ คัดเลือกบุคคลเข้าท างาน เป็นต้น ประเภทของควำมรู้ ความรู้สามารถแบ่งออกได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝง เร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งเป็นความรู้ที่ถูกบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ วารสาร เป็นต้น ส่วนความรู้แฝงเร้นเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ส่วนใหญ่ มี ลักษณะเป็นความรู้ที่แฝงเร้นอาจอยู่ในในบุคคลที่ท างานในองค์กรหรือแผนกต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน และ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้าน จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งก็คือ 

การจัดการความรู้ 
1. ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่จัดการรวบรวมได้ง่าย มีการจัดระบบและ ถ่ายโอนโดยใช้วิธีการทางดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นแนวคิดและทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ เช่น นโยบายของ องค์กร แนวคิดวิธีการในการท างาน เป็นต้น 
 2.ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้เป็นค าพูดได้ เป็น ความรู้ที่มีรากฐานมาจากการกระท าและประสบการณ์ในวิถีการด ารงชีวิต อาจมีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ เช่น ทักษะในการประกอบอาชีพ ทักษะในการจักรสาน เป็นต้น ความรู้แบบฝักลึกต้องการการฝึกฝนเพื่อให้ เกิดความช านาญมีลักษณะเป็นเรื่องเฉพาะส่วนบุคคล เช่น วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านในเรื่องต่างๆ เป็นต้น 

ระดับควำมรู้ 
 ระดับที่ 1 : Know-what (รู้ว่า คืออะไร) เป็นความรู้ในเชิงการรับรู้ 
 ระดับที่ 2 : Know- how (รู้วิธีการ) เป็นความสามารถในการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ 
 ระดับที่ 3 : Know – why (รู้เหตุผล) เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในเชิงเหตุผลที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่ภายใต้ เหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ ความรู้ในระดับนี้สามารถพัฒนาได้บนพื้นฐานของประสบการณ์ในการแก้ไข ปัญหา  
ระดับที่ 4 : Care-why (ใส่ใจกับเหตุผล) เป็นความรู้ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่ มีความรู้ในระดับนี้จะมี เจตจ านง แรงจูงในและการปรับตัวเพื่อ ความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น